บ้านชั้นเดียว เพดานสูง บ้านเพดานสูง ส่วนมากมักจะเป็นบ้านที่มีขนาดใหญ่ เพดานที่สูงช่วยเพิ่มความโอ่อ่าให้ตัวบ้าน สะท้อนถึงระดับของผู้อยู่อาศัย ให้ความรู้สึกหรูหรา สง่างาม แต่ก็ยังมีอีกหลายโครงการ ที่แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เลือกทำเพดานสูงในบางจุด ที่ไม่เพียงเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย แต่ยังช่วยสร้างความแปลกใหม่ในการอยู่อาศัยอีกด้วย
บ้านชั้นเดียว เพดานสูง
สร้างบ้านโปร่งโล่ง ด้วยการออกแบบเพดานสูง มีการออกแบบบ้าน ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ สวยงาม และสอดคล้องกับการใช้งาน และตอบโจทย์สมาชิกภายในบ้านมากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วการออกแบบบ้านแต่ละหลังมีความแตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าบ้านมีหลากหลายสไตล์อย่างเช่น บ้านสไตล์ลอฟท์ บ้านโมเดิร์น บ้านสไตล์ญี่ปุ่น และอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับความชอบเจ้าของบ้าน ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกออกแบบบ้านยังช่วยให้บ้านดูโปร่งโล่งสบาย เช่นเดียวกันการเลือกโทนสีตกแต่งบ้าน ให้บ้านดูสดใส สบายตา
ไอเดียบ้านเพดานสูง ชั้นเดียว
แบบที่ 1 บ้านเพดานสูง เพิ่มความโปร่งให้อาคารชั้นเดียว
เพดานบ้านสูง เท่าไรจึงจะรู้สึกได้ถึงความปลอดโปร่ง ตามปกติแล้วบ้านทั่วไปในปัจจุบัน มักออกแบบให้มีความสูงตั้งแต่พื้นจนถึงฝ้าเพดานประมาณ 2.6 เมตร แต่สำหรับบ้านที่ต้องการความสูงโปร่งเป็นพิเศษจะทำการออกแบบให้มีความสูงมากกว่านั้น ซึ่งสัดส่วนความสูงของบ้านต้องอยู่ในรูปทรงที่สมมาตรกับส่วนอื่น ๆ ถึงจะทำให้บ้านดูสวย ไม่แปลกตา เพราะหากบ้านสูงโดยไม่สัมพันธ์กับความกว้าง สิ่งที่ตามมาคือ การขาดความสมดุลนั่นเอง
เจ้าของบ้านเป็นศิลปินมืออาชีพ ที่ตกหลุมรักบริบทของที่ดินแปลงนี้ตั้งแต่แรกเห็น ก่อนหน้าก่อนที่จะสร้างบ้าน คู่สามี-ภรรยาได้ใช้เวลาหลายปีในการแคมป์ปิ้ง กางเต้นท์ เพื่อทำความรู้สึกกับธรรมชาติรอบ ๆ ให้มากขึ้น และเมื่อถึงเวลาที่พร้อมจึงตัดสินใจสร้างบ้านที่สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายไปจนถึงบั้นปลายของชีวิต
บ้านชั้นเดียว หลังคาลาดเอียงหลังนี้ ตั้งอยู่เงียบ ๆ บนพื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบฮูรอนหรือทะเลสาบฮิวรอน ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างรัฐมิชิแกนของสหรัฐอเมริกากับรัฐออนแทริโอของแคนาดา ดีไซน์ภายนอกมีความชัดเจนและเฉียบคมในเรื่องเส้นสาย ดีไซน์งานหลังคาให้มีความสูงต่างระดับกัน นอกจากจะทำให้บ้านชั้นเดียวดูสะดุดตาเท่านั้น ยังช่วยในเรื่องแสงสว่างที่สอดส่องเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้านด้วย
แนวคิดในการออกแบบขับเคลื่อนด้วยธรรมชาติที่มีอยู่รอบ ๆ บริเวณเป็นส่วนสำคัญ สถาปนิกต้องการออกแบบให้ผู้อยู่อาศัยและพื้นที่ภายนอกใกล้ชิดกันในทุก ๆ มุมมอง ทุก ๆ มิติของการใช้ชีวิตประจำวัน ผนังภายนอกจึงเลือกใช้งานไม้สีน้ำตาลมากรุตามแนวตั้งและแนวนอน เพิ่มความสมดุลให้กับรูปทรงลาดเอียงของหลังคาไม่ดูแปลกตาจนเกินไป
หากมองจากผังแปลนจะเห็นได้ว่า ตัวอาคารชั้นเดียวเสมือนกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองใบมาวางติดกันแบบเหลื่อม ๆ ทำให้ฟังก์ชันภายในบ้านค่อนข้างมีความลื่นไหล ไม่ซับซ้อน และขณะเดียวกันก็มีความปลอดโปร่งโล่งกว้างเป็นพิเศษ
ชั้นวางหนังสือถูกบิลท์อินเอาไว้บนผนังด้านหนึ่งบริเวณทางเดินภายในบ้าน แบ่งช่องวางอย่างเท่า ๆ กัน วางได้จริงในทุกช่อง ตั้งแต่พื้นจนถึงฝ้าเพดาน อีกทั้งพื้นที่ทางเดินที่ออกแบบไว้ค่อนข้างกว้าง จึงสามารถนั่งอ่านหนังสือได้อย่างสบาย ๆ ไม่ถูกรบกวนจากภายนอก เป็นอีกมุมที่สร้างสมาธิให้กับเจ้าของบ้านได้อย่างยอดเยี่ยม
ห้องน้ำเพียง 1 ห้องของบ้าน ตกแต่งอย่างง่าย ๆ ทำการแบ่งโซนเปียกโซนแห้งเอาไว้ให้ดูแลทำความสะอาดได้ไม่ยาก ไม่เปลืองเวลา ไม่เปลืองแรงจนเกินไป ห้องนี้มีทั้งสีดำ สีขาวและสีน้ำตาลของไม้ เป็นการผสมผสานสีที่เรียบแต่มีเสน่ห์เอาไว้ได้อย่างสบายตา
นอกจากจะเป็นบ้านที่ต้องการอิงแอบกับธรรมชาติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านทำเพื่อความยั่งยืน คือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพื่อดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยติดตั้งไว้บนหลังคาที่หันหน้าไปยังทิศใต้ จึงได้รับแสงมาใช้งานอย่างเพียงพอ
ผู้อ่านที่สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา บ้านสวย ต้องทำการตรวจสอบก่อนว่า ลักษณะของหลังคาบ้านตัวเองนั้นได้มีความลาดเอียง หันไปทางทิศใต้ ทิศตะวันตกหรือตะวันตกเฉียงใต้หรือไม่ เพราะหากหันไปทางทิศทางที่แสงส่องไม่ถึง อาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังต้องมีการเตรียมการเผื่อพื้นที่บนหลังคาสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ด้วย
แบบที่ 2 บ้านชั้นเดียวเพดานสูง เพิ่มความโปร่งให้บ้านหน้ากว้าง
น่าเสียดายอย่างมากที่ไม่ได้มีภาพบ้านก่อนทำการปรับปรุงมาให้ได้ชมกันในบทความนี้ มีเพียงภาพของบ้านหลังที่ได้ทำการปรับปรุงมาเรียบร้อยแล้วเท่านั้น แต่ก็พอจะมองออกมาว่า เคยเป็นบ้านที่มีอยู่เดิมแล้วทำการรีโนเวทใหม่ เพราะยังคงความร่วมสมัยและกลิ่นอายเก่าไว้ได้อย่างสวยงาม แม้จะอยู่ในปริมาณที่เจือจางก็ตาม มีเส้นสายที่ทำให้นึกถึงบ้านในยุคก่อน ไม่ได้โมเดิร์นจนเกินไป
บนที่ดินหน้ากว้างมีบ้านชั้นเดียวหลังเดิมตั้งอยู่ สถาปนิกได้ทำการออกแบบและปรับปรุงใหม่โดยใส่สไตล์สมัยใหม่เข้าไปให้เข้ากันได้กับบริบทของชุมชนและไลฟ์สไตล์เจ้าของในปัจจุบัน หน้าบ้านตั้งใจเปิดโล่งไร้รั้วกำแพงมาแบ่งแยกระหว่างที่ดินสาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัว แต่ใช้รูปแบบการดีไซน์ด้านหน้าให้ปิดทึบ ไม่มีช่องหน้าต่างเปิดแม้สักบานเดียว ยกเว้นเพียงแค่ประตูอัตโนมัติของโรงจอดรถเท่านั้น ประตูทางเข้าบ้านเว้าถอยหลังเข้าไปอีกนิด ระยะล่นที่มากขึ้น ทำให้รู้สึกได้ถึงความปลอดภัย ไม่ใกล้ชิดกับถนนจนเกินไป
หากมองจากหน้าบ้านจะรู้สึกว่าเป็นบ้านหน้ากว้างที่อาจมีความลึกน้อย แต่เมื่อได้เข้ามาสัมผัสกับภายในบ้าน ทำให้ได้รู้ว่าขนาดของที่ดินค่อนข้างลึกเช่นเดียวกัน บ้านแฝด แต่เจ้าของบ้านไม่ได้ต้องการบ้านที่หลังใหญ่จนเกินไป จึงใช้พื้นที่ในส่วนนี้พอประมาณกับฟังก์ชันที่คิดคำนึงไว้ และเว้นพื้นที่ว่าง ๆ หลังบ้านปล่อยเปล่าเป็นสนามหญ้าสีเขียวที่แสนเป็นส่วนตัวแทน
ส่วนที่สองคือบริเวณหลังบ้านที่เชื่อมต่อกับสนามหญ้ากว้าง ทำการแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนเช่นกัน ห้องครัวในบ้านที่มีฟังก์ชันเหมือนนอกบ้าน ออกแบบไว้อย่างเป็นสัดส่วน แต่ขณะเดียวกันก็มีช่องประตู หน้าต่างระบายอากาศได้อย่างสะดวก ตรงเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร เปิดช่องแสง Skylight บนหลังคา ให้แสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน ส่องลงมาตลอดทั้งวัน ช่วยให้ห้องสว่างและที่สำคัญคือช่วยไล่ความอับชื้น เชื้อโรคออกจากห้องครัวจนหมดสิ้น
เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในครัว เลือกมาจาก IKEA ช่วยประหยัดงบประมาณในการตกแต่งไปได้มากเลยทีเดียว ทั้งยังเข้ากันได้ดีกับบ้านที่มีกลิ่นอายร่วมสมัย ตู้แขวนสีขาวไฮกลอสเงางาม เลือกแบบไร้มือจับ เพื่อให้ดูเรียบเนียน สบายตาไปตลอดทั้งผนัง
ฝ้าเพดานในครัวและโต๊ะรับประทานอาหาร เลือกที่จะปิดเรียบด้วยไม้สีน้ำตาล เสริมสร้างบรรยากาศของความผ่อนคลายในมื้ออาหาร เช่นเดียวกับห้องนอน ฝ้าไม้ยังช่วยให้ห้องพื้นสีเข้ม กับผนังสีขาว ดูอบอุ่นน่าพักผ่อนมากขึ้นอีกด้วย
ห้องที่อยู่ในโซนหลังมีประตูกระจกบานเลื่อนที่สามารถออกไปยังสนามหญ้ากลางแจ้งได้อย่างสะดวก และใช้ผ้าม่านบางสีขาวติดไว้กรองแสงอีกชั้น ความพลิ้วไหวของม่าน ไม่ได้ทำให้ห้องมืดทึบไปกว่าเดิม ห้องนอน 2 ห้องภายในบ้าน ยังคงปูพื้นด้วยกระเบื้องสีเข้มเช่นเดียวกับห้องอื่น เพื่อคุมธีมของบ้านแต่ละส่วนให้ลื่นไหล เป็นหนึ่งเดียวกัน
การตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว เจ้าของบ้านสามารถหาซื้อเองได้ แต่เพื่อความสวยงามควรคำนึงถึงองค์ประกอบเหล่านี้ เช่น ขนาดที่ลงตัวกับพื้นที่, วัสดุที่เข้ากันกับภายรวม, คุมโทนสีให้ไม่ขัดตา หากต้องการความมั่นใจก่อนเลือกซื้อ ปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์แต่ละแบรนด์จะมีบริการออกแบบฟรี ทำภาพ 3D ทำให้มองเห็นภาพชัดเจน ว่าหากนำไปตกแต่งในที่ที่คิดไว้ จะออกมาสวยงามหรือเปล่า ช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น
ข้อดีของบ้านเพดานสูง
1.โปร่ง โล่ง สบาย อากาศถ่ายเทสะดวก
จุดเด่นของบ้านเพดานสูงก็คือ โปร่ง โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก หมุนเวียนได้ดี เพราะความร้อนที่ได้รับมักจะโดนกักไว้ด้านบนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้พื้นใช้สอยที่ด้านล่างเย็นสบายกว่าบ้านที่มีเพดานในระดับปกติ ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้หน้าต่างบานใหญ่ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้อากาศถ่ายเทได้ดีมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
2.ช่วยประหยัดพลังงาน
เมื่ออากาศสามารถหมุนเวียน ถ่ายเทได้อย่างสะดวก บวกกับมีประตูหน้าต่างที่กว้างขวาง ก็จะสามารถเปิดรับลมธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีอุณหภูมิที่เย็นสบายกว่าบ้านที่มีความสูงของเพดานในระดับปกติ แม้จะเป็นช่วงเวลากลางวันก็สามารถอยู่ได้สบายกว่า แม้ไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ
3.บ้านเพดานสูง อากาศถ่ายเทสะดวก
บ้านเพดานสูง ส่วนมากมักจะเป็นบ้านที่มีขนาดใหญ่ เพดานที่สูงช่วยเพิ่มความโอ่อ่าให้ตัวบ้าน สะท้อนถึงระดับของผู้อยู่อาศัย ให้ความรู้สึกหรูหรา สง่างาม แต่ก็ยังมีอีกหลายโครงการ ที่แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เลือกทำเพดานสูงในบางจุด ที่ไม่เพียงเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย แต่ยังช่วยสร้างความแปลกใหม่ในการอยู่อาศัยอีกด้วย
4.บ้านเพดานสูง บรรยากาศดี
พื้นที่มากขึ้น พื้นที่ใช้สอย หรือพื้นที่ตกแต่งบ้าน ก็มากขึ้นตามไปด้วย สามารถแขวนโคมไฟ Chandelier ขนาดใหญ่, บิวด์เป็นตู้หนังสือ หรือตู้โชว์สูงจรดเพดาน หรือบ้างโครงการก็เลือกใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำเป็นที่นั่งเล่นชั้นลอย หรือที่เก็บของเพิ่มเติม
4.บ้านเพดานสูง มองเห็นวิวข้างนอก
และท้ายที่สุดสำหรับบ้านไหนที่จัดมุมสวนสวย มุมพักผ่อน หรือทำบ่อปลาคาร์ฟไว้หน้าบ้าน การที่มีบ้านเพดานสูง แล้วใส่กระจก Bay Window ขนาดใหญ่ หรือกระจกแบบ Full height ลงไปเต็มผนัง ก็จะทำให้เรามองเห็นวิวธรรมชาติรอบด้านได้แบบเต็มตา เต็มอารมณ์มากขึ้น