ลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น

Posted on
ลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น

ลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น การออกแบบบ้านและอาคารที่สนอง ประโยชน์ใช้สอยอย่างถูกต้อง จำเป็นจะต้องคำนึงถึง อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศ คือ แดด ฝน และลม ที่ส่งผลต่อสภาพอาคาร และส่วนต่างๆ ของอาคาร นับตั้งแต่หลังคา กันสาด ผนัง ประตู และหน้าต่าง

ประเทศไทยตั้งอยู่ใน พื้นที่เขตมรสุมร้อนชื้น แม้จะมีอากาศแตกต่างกัน บ้างในแต่ละภาค โดยภาคใต้จะเป็นเขตมรสุมร้อนชื้นที่แท้จริง และลดหลั่นไปถึงภาคเหนือ ของประเทศ อิทธิพลของอากาศจึงมีผลต่อลักษณะอาคารและสถาปัตยกรรมของประเทศ ทำให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย ในแต่ละท้องถิ่นที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น เรือนไทยมุสลิมภาคใต้ เรือนไทยภาคกลาง เรือนพื้นถิ่นอีสาน เรือนล้านนาภาคเหนือ เป็นต้น

ลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น หรือที่เรียกว่าภูมิอากาศแบบทรอปิคัล ซึ่งส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมในบ้านเราหลายประการ อาทิ ตัวบ้านต้องคุ้มแดดคุ้มฝน รวมถึงระบายอากาศได้ดี และต้องจัดการกับความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอกลักษณ์ของบ้านเรือนไทย บ้านเดี่ยว

จึงได้ผนวกเอาทั้งโครงสร้างพื้น ผนัง และหลังคาเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างภาวะน่าสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะ “หลังคา” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของบ้านที่เปรียบเสมือนด่านแรกในการรับมือกับแสงแดดและความร้อน

แบบบ้านเขตกึ่งร้อนชื้น มีอากาศร้อนและชื้นในฤดูร้อน ส่วนฤดูหนาวอากาศจะแห้งและหนาวจัด ลักษณะบ้าน คล้ายคลึงกับบ้านของไทย คือเน้นที่โครงสร้างที่เรียบง่าย โถงมีความโปร่ง มีช่องระบายลมเพื่อระบายความร้อน ครอบคลุมในพื้นที่ อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้

ลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น

5 เทคนิคออกแบบบ้านให้เหมาะกับประเทศร้อนชื้น

สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ติดกับประเทศพม่า และประเทศลาว ติดกับทะเล จึงทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้นเกือบทั้งปี นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลความหนาวจากจีนไล่จากพม่า ลาวลงมาที่ไทย ทำให้ประเทศไทยมี 3 (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว) ดังนั้นบ้านของเราก็ควรที่จะออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นและฤดูต่าง ๆ ของประเทศเราด้วย วันนี้เราจึงมีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยในการออกแบบบ้านมาฝากกัน

1.ลักษณะของบ้าน
สำหรับลักษณะของบ้าน เราควรเลือกแบบบ้านที่ โปร่งโล่ง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศทำให้บ้านไม่ร้อนมาก ควรมีหน้าต่างและประตู ช่วยระบายอากาศด้านในบ้านและรับอากาศภายนอก จะช่วยให้บ้านไม่มีกลิ่นอับอีกด้วย หากบ้านติดกับถนนควรยกพื้นสูงขึ้น เป็นการป้องกันพื้นทรุดจากการวิ่งของรถยนต์ รวมถึงป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษที่มักจะมาในฤดูฝนกับฤดูหนาว และเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ได้อีกด้วย

2.โทนสีบ้าน
โทนสี บ้านที่เหมาะกับประเทศร้อนชื้นแบบประเทศไทย ควรเลือกใช้เป็นสีโทนอ่อนไม่ควรใช้สีเข้ม เพราะสีเข้มจะทำให้ตัวบ้านดูดความร้อน ทำให้ตัวบ้านร้อนขึ้น สีบ้านก็จะหลุดก่อนถึงเวลา และอาจจะทำให้คุณต้องเสียค่าบำรุงรักษาบ้านเพิ่มได้

3.การเลือกใช้วัสดุ
สำหรับการเลือกวัสดุในการสร้างบ้านหรือออกแบบบ้าน คุณควรเลือกวัสดุที่ทนต่อความร้อนและความชื้นได้สูง อาทิเช่น เลือกเสาบ้านเป็นแบบเสาปูนเสริมเหล็กแทนที่จะใช้เสาไม้ จริงอยู่ที่ในอดีตคนไทยนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ แต่ในปัจจุบันนี้ ไม้มาราคาสูง จึงหันมาใช้เสาปูนเสริมเหล็กแทน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน หรือ เลือกใช้หลังคาเมทัลชีทบุฉนวนกันร้อน นอกจากป้องกันความร้อนได้แล้วยังป้องกันหลังคารั่วด้วย

4.ทิศของบ้าน
การออกแบบบ้านให้หันไปทิศต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการหันหน้าบ้าน หรือตัวบ้านไปในแต่ละทิศ จะให้ประโยชน์ที่ต่างกันออกไป เช่น ทิศใต้เป็นทิศที่แดดส่องตลอดทั้งปี เหมาะจะใช้เป็นหลังบ้าน และลานอเนกประสงค์ จะช่วยให้ตากผ้าได้แห้งหรือปลูกต้นไม้ เป็นต้น

5.การตกแต่งบ้าน
การออกแบบบ้านและการตกแต่งบ้าน ไม่ควรตกแต่งให้เฟอร์นิเจอร์ขวางทางลม หรือ วางสิ่งของขวางทางลมที่จะผ่านหน้าต่างและประตู เพราะจะทำให้ระบายอากาศได้น้อยลง

ลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น

ไอเดียบ้านเขตร้อนชื้น

ถ้าพูดถึง บ้านในเขตร้อนชื้น แน่นอนว่าเราจะนึกถึงทั้งความร้อน และความชื้นจากฝน ซึ่งทำให้บ้านต้องการการปกป้องอย่างดี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในบ้าน สะดวกสบายภายใต้ชายคา แต่หลังคาจำเป็นต้องปกป้องมากแค่ไหน ชายคาต้องยื่นยาวเท่าไหร่ ก็คงจะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของนักออกแบบ และความต้องการของเจ้าของเองด้วย เนื้อหานี้เราจะพาไปชมบ้านใน Kannur เขตทางตอนเหนือของรัฐ Kerala ประเทศอินเดีย บริเวณนี้มีสภาพอากาศแบบทะเลชื้น ฝนจะตกหนักในช่วงฤดูมรสุมฤดูร้อน และร้อนจัดในฤดูร้อน หลังคาบ้านจึงต้องทำหน้า ที่ปกป้องบ้านให้ดีที่สุด

บ้านหลังนี้มีชื่อว่า House of Noufal ออกแบบโดยสตูดิโอ 3dor Concepts ในเมืองคานปูร์ สำหรับเจ้าของบ้านที่เป็นนักเดินทางตัวยงและต้องการให้ บ้านของครอบครัวสะท้อนความคิดที่เปิดกว้าง มีเอกลักษณ์ และชวนให้ประหลาดในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ตัวอาคารต้องตอบโจทย์ สภาพอากาศร้อนชื้นของท้องถิ่นได้ดี จึงเป็นที่มาของบ้านหลังคาโครงสร้างเหล็กมุงแผ่นดินเผาทรงจั่ว ในองศาลาดเอียงสูงชายคายาว คลุมยาวลงมาเกือบจรดพื้น เหมือนเป็นหลังคาขนาดยักษ์กำบังฝนที่ตกหนัก และแสงแดดจ้า ในขณะที่ให้รูปลักษณ์ที่โดดเด่น

บ้านโปร่งโล่ง

ทีมงานเริ่มต้นด้วยแนวคิดใน การออกแบบบ้านที่ผสมผสาน สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เข้ากับสถาปัตยกรรม Kerala แบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นบ้านเขตร้อนที่ ตอบสนองต่อสภาพอากาศ ได้อย่างเหมาะสม ด้านหลังโซฟายาวในห้องนั่งเล่น มีชุดรับประทานอาหารไม้แบบดั้งเดิมตั้ง อยู่กับผนังหินที่ ตัดกันอย่างสวยงาม ม้านั่งรับประทานอาหาร รองรับจำนวนแขกได้อย่างยืดหยุ่น

การวางแปลนบ้านทำในสามระดับ ที่แตกต่างกัน ตามความลาดเอียงของหลังคา เพื่อให้มองเห็นแต่ละชั้นได้อย่างต่อเนื่อง จึงทำพื้นที่สูงสองเท่า และลานขนาดใหญ่ตรงใจกลางบ้าน ลาน ยังทำหน้าที่แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ มีห้องนั่งเล่น และรับประทานอาหารอยู่ด้านหนึ่ง ห้องครัวและห้องนอนอยู่อีกด้านหนึ่งที่เป็นส่วนตัวขึ้น สถาปนิกใส่ช่องเปิดขนาดใหญ่ที่ชั้นล่าง รวมถึงผนังกระจกสูงเต็ม ความสูงที่ปลายทั้งสองด้านของลาน เชื่อมต่อภายในกับสวน และปล่อยให้สายลมช่วยระบาย อากาศตามธรรมชาติ

ก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่ถูกวางไว้ ในลานบ้าน โดยมีบันไดลอยอยู่ด้านบน ต้นไม้สีเขียวรอบๆ ลานบ้านและม้านั่งยาวที่บิลท์ติดระหว่างเสากลมสองเสา ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นจุดสนใจ และมักใช้เป็นพื้นที่สำหรับสังสรรค์ในบรรยากาศที่เหมือนยกกลางแจ้งมาเก็บไว้ในบ้านแบบ insideout-outside in

เมื่อยืนอยู่กลางลานเงยหน้าขึ้นไป จะเห็นว่าหลังคา พื้นผิวกระเบื้องดินเผา ถูกขัดจังหวะด้วยวัสดุโปร่งใส ซึ่งช่วยให้แสงแดดสาดส่องเข้ามาในลานกว้างสูง 2 เท่ากลางบ้านได้พอดี

กระเบื้องพื้นเมือง

ส่วนของวัสดุก่อสร้าง นอกจากสถาปนิก จะจัดหากระเบื้องพื้นเมือง สำหรับมุงหลังคาและโครงเหล็กเพื่อรองรับโครงสร้างแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำเสนอกลิ่นอายแบบ สถาปัตยกรรมดั้งเดิม เช่น ประตูบานเกล็ดไม้ใน Kerala สไตล์ดั้งเดิมที่ด้านหน้าอาคาร และพื้นคอนกรีตพร้อม งานตกแต่งฝังพื้น พรมปอกระเจาธรรมชาติในห้องนั่งเล่น เฟอร์นิเจอร์เก่าถูกจัดหา และทำขึ้นใหม่ด้วยรายละเอียดแบบดั้งเดิม

หลังคาที่มีความลาดชันสูง จะช่วยให้การระบายน้ำฝน บนหลังคาทำได้รวดเร็วขึ้น การออกแบบรูปทรงหลังคา ให้เป็นจั่ว ความสูงจากพื้นถึงเพดาน มากกว่าปกติจะช่วยให้การถ่ายเท ความร้อนจากหลังคาลงสู่พื้นที่ ใช้ชีวิตข้างล่างอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ในทางกลับกันหากมีโถงสูง และใส่ช่องทางระบายความร้อน ที่ลอยตัวขึ้นสูงจะทำ ให้บ้านเย็นเร็วขึ้น หน้าต่างประตูในบ้านก็ควรมีขนาดใหญ่พอที่จะรับลม และระบายความร้อนควบคู่กัน ขณะเดียวกัน บ้านเขตร้อนชื้น ยังคงต้องการแสงธรรมชาติ จึงควรใส่หน้าต่าง และช่องแสงสกายไลท์ใน จุดที่เหมาะสมจะไม่ทำให้บ้านร้อน