บ้านสองชั้นเรียบง่าย สงบ

Posted on
บ้านสองชั้นเรียบง่าย สงบ

บ้านสองชั้นเรียบง่าย สงบ บ้าน 2 ชั้น คือ บ้านที่มีชั้นบนและชั้นล่าง เชื่อมต่อด้วยบันไดบ้าน โดยพื้นที่ชั้นบน และชั้นล่างมีอัตราส่วนเท่า ๆ กัน มีฟังก์ชั่นและห้องต่าง ๆ รองรับการอยู่อาศัย ตามการออกแบบแปลน ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง

ข้อดีของบ้าน 2 ชั้น สร้างได้แม้ขนาดที่ดินจำกัด หากมีที่ดินขนาดเล็ก แต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยภายใน บ้านที่มากพอ หรืออยู่อาศัยหลายคน ต้องการห้องนอนหลายห้อง บ้าน 2 ชั้นตอบโจทย์มากกว่า แม้ว่าบ้าน 2 ชั้น จะใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าในการก่อสร้าง บนขนาดที่ดินเท่ากัน แต่ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

บ้านสองชั้นเรียบง่าย สงบ

เหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่อาศัยกันหลายคนในบ้านหลังเดียว การอยู่บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอย แบ่งชั้นได้อย่างชัดเจน สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้ สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน ต่อให้มีสมาชิกครอบครัว หลายคนก็ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
แบบบ้านฟรี บ้านสองชั้น 5 แบบ 5 สไตล์จากสำนักการโยธา

แบ่งห้องได้เป็นสัดส่วน บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนเป็นห้องนอน มีความเป็นส่วนตัว สบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสมาชิกคนอื่น ๆ หรือห้องทำงานส่วนตัว ที่ต้องการความสงบและสมาธิ หรือถ้าหากมีเฟอร์นิเจอร์หรือ ข้าวของเครื่องใช้เยอะ ก็ยังสามารถแบ่งพื้นที่ จัดเก็บได้ง่าย หรือเพิ่มห้องเก็บของอีกห้องก็ได้ เพราะมีพื้นที่เหลืออยู่เยอะ

ถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดี ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บ้าน 2 ชั้นจะถ่ายเทความร้อน ภายในบ้านได้ดีกว่า พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างจะค่อนข้าง เย็นสบายกว่าชั้นบน เพราะมีในส่วนของชั้นบนที่ ช่วยป้องกันความร้อน ที่จะลงมาสู่ชั้นล่าง

ปลอดภัย ด้วยความที่ตัวบ้านบ้าน 2 ชั้น ยกพื้นสูงมากกว่าบ้านชั้นเดียว หากมองในแง่ความ ปลอดภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้าย ที่บ้าน 2 ชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ยังคงต้องระมัดระวัง สร้างรั้วรอบขอบชิด และปิดบ้านให้เรียบร้อย

บ้านสองชั้นเรียบง่ายแต่ว้าวด้านใน

บ้านสองชั้นเรียบง่าย สงบ

เวียดนามเป็นหนึ่งประเทศที่มีเอกลัษณ์ใน การออกแบบสถาปัตยกรรม ด้วยการค้นหาวัสดุพื้นบ้านมาแทรกแซมสร้างความประทับใจให้บ้านที่รูปลักษณ์เรียบง่าย ภายนอกดูเหมือนว่าบ้านในเมืองที่แคบและยาวโดยทั่วไป แต่หลาย ๆ จุดทั้งภายนอกและภาย ใส่ความน่าสนใจที่ การจัดทิศทางของแสง ลม ที่ทำให้บ้านโปร่งกว่าที่เห็นและเต็มไปด้วยสภาวะสบายมากกว่าที่คิด ซึ่งเหมาะกับบ้านในเขตร้อนมาก ๆ

เจ้าของเป็นคู่รักรุ่น 9X Generation (ในเวียดนามหมายถึงคนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1990) ทั้งคู่ศึกษาที่ฮานอย แต่เลือกที่จะพักอาศัยและทำงานในท้ายเงวียน (Thai Nguyen) เมืองชั้นที่หนึ่งและเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของเวียดนาม การใช้ชีวิตที่นี่แม้จะเป็นเมืองใหญ่ แต่ค่อนข้างเงียบสงบไม่พลุกพล่าน

บ้านที่มีชื่อโครงการว่า THE STACKING ROOF HOUSE นี้จึงเป็นเสียงสะท้อนระหว่าง บริบทและบุคลิกภาพของผู้คนได้อย่างชัดเจน สถาปนิกได้ใส่เรื่องราวของบ้าน ที่ปรับปรุงจากบ้านเก่า และต่อเติมบางส่วนใหม่ให้ความเคารพต่อบรรยากาศอันสงบ สุขสอดคล้องกับธรรมชาติ ในขณะที่มีความเข้มข้นด้วย จิตวิญญาณร่วมสมัยอันเสรีของคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

บ้านสองชั้น ชายคากว้างกรุ ฝ้าด้วยไม้ไผ่โปร่งๆ ชั้นบนของบ้านเป็นคอนกรีตสลับ ซาฟาดที่เปิดปิดได้ ชั้นบนรวมเข้าด้วยกันด้วยโครงเหล็กหลังคาชั้นล่างที่ ยื่นออกมาค่อนข้างมาก จึงเป็นกันสาดไปด้วยในตัว โครงสร้างอาคารแบบ modern ที่ผนังไม่ต้องรับน้ำหนัก ทำให้ชั้นล่างสามารถใส่ผนังกระจก ที่เปิดโล่งเหมือนบ้านมีไต้ถุนสมัยก่อน

บ้านสองชั้นเรียบง่าย สงบ

ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากทัศนียภาพโดยรอบที่มีต้นไม้ใหญ่ จึงสร้างช่วงการมองเห็นและรับแสงรับลมที่กว้างขึ้น วิธีนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเบลอขอบเขต เชื่อมมุมมองสวนในชั้นล่าง แต่ยังเพิ่มพื้นที่ใช้งานออกไปรอบ ๆ บ้านที่เข้าถึงกันได้หมด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดชุดของ อาคารที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรอบอย่างกลมกลืน

ผนังกระจกที่กั้นระหว่างบ้าน และลานหน้าบ้านไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน สำหรับบ้านโดยตรง ด้วยคุณสมบัติที่โปร่งใสและเปราะบาง จึงเป็นพื้นที่ใช้ชีวิต ที่ค่อนข้างเปิดให้เป็นอิสระ ใช้สำหรับความใส่ความมีชีวิตชีวาและความเขียวขจี ถัดเข้าไปด้านในสถาปนิกสร้างช่องว่างเป็นทางเดินแคบ ๆ เป็นซุ้มทรงจั่วแหลมเหมือนบ้าน

ทำหน้าที่คั่นระหว่างพื้นที่สาธารณะ ด้านหน้าและห้องส่วนตัวด้านหลัง ช่วยป้องกันเสียงรบกวนภายนอกสร้างความสงบให้เกิดขึ้นภายใน เมื่อผ่านผนังทึบเข้าไปจะพบกับสวนจะค่อยๆ ปรากฏตัวขึ้นพร้อมแสงสว่าง ทำให้คนที่ผ่านเข้ามาเกิดความอยากรู้ว่าสิ่งที่จะได้พบต่อไปคืออะไร บ้านจัดสรร

ผนังที่เต็มไปด้วย Texture ของอิฐที่เรียงตัวเป็นจังหวะนูนออกมาจากผนัง เป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่ บ้านในเวียดนามนิยมใช้ให้ผนังเรียบ ๆ น่าสนุกขึ้น นอกจากจะสื่อให้เห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านแล้ว ยังเป็นวัสดุที่เชื่อมต่อบ้าน กับธรรมชาติได้ดี

ที่ว่างและสวนคั่นระหว่างส่วนรวมและส่วนตัว

เมื่อเดินตามบันไดมาเรื่อยจะนำไปสู่ส่วนที่ต่อเติมเป็นห้องพักส่วนตัวทางด้านหลัง ที่สร้างความต่อเนื่องผ่านสเปซโล่ง ๆ และโถงสูง Double Space เหนือบันได ช่องว่างสูง 2 ชั้นนี้จัดเป็นคอร์ทยาร์ดปลูกต้นไม้ในใจกลางให้ต้นไม้เติบโตไปพร้อมกับบ้านและผู้อยู่อาศัย บนหลังคาใส่ช่องแสง Skylight ลบภาพที่คิดไว้ว่าภายในบ้านที่ลึกเข้าไปจะต้องมืดไปได้อย่างน่าสนใจ

โซนห้องนอนจะตรงกับส่วนที่ติดตั้ง ฟาซาดที่เป็นแผ่นเรียงตัวกันอยู่ สามารถเลือกระดับองศาเพื่อความเป็นส่วนตัวได้ตามความจำเป็นในการใช้งาน ด้สนในเป็นบานหน้าต่างกระจกบานเลื่อนอีกหนึ่งชั้น ด้วยวิธีนี้จะทำให้เจ้าของห้องยังสามารถรับแสงและลมเข้ามาไหลเวียนภายในแม้จะบิดปลี่ยนองศาของฟาซาดก็ตาม เส้นสายเรขาคณิตเป็นสิ่งที่จะพบเห็นได้ทั่วไปในบ้านหลังนี้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง สลับกับวงกลม ทำให้รู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่งและไม่แข็งกระด้างจนเกินไป

โซนห้องน้ำ

อีกด้านหนึ่งของบ้านเป็นส่วนที่ติดถนน จึงต้องกันพื้นที่ชีวิตออกจากสายตา ของผู้คนที่ผ่านไปด้วยประตูบานเฟี้ยมและที่ว่างเป็น Buffer ระหว่างภายในภายนอก ในส่วนนี้จะมีลานโล่ง ๆ ชั้นล่าง เจาะโถงสูงทำเป็นชั้นลอยที่คนในบ้านสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกผ่านช่องกระจกบนประตูได้ ผนังบ้านบางส่วนใส่บล็อกแก้วเพิ่มความพื้นที่รับแสงให้บ้านโดยที่ไม่ต้องเปิดโปร่งให้คนมองเข้ามาเห็นภายใน

โถงกลางบ้านที่เปิดจากชั้นล่างชึ้นชั้นบน ช่วยในเรื่องการหมุนเวียนอากาศให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสูงและระบายออกนอกบ้านได้ดี นอกจากเรื่องอากาศแล้ว ยังให้ผลดีกับตัวบ้านในเรื่องการกระจายแสง เพราะแสงธรรมชาติที่รับจาก Skylight จะส่องสว่างลงสู่ตลอดพื้นที่ ในช่วงกลางวัน เท่านั้นยังไม่พอ ยังเป็นจุดศูนย์กลางบ้านสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่แต่ละส่วนของบ้านด้วย

หลังคาโปร่งใสโชว์มิติของโครงสร้าง

โครงสร้างหลังคาสีขาวที่โชว์อยู่ในห้องนอน และชั้นบนสุด เป็นโครงถัก (Truss) จากชิ้นส่วนวัสดุหลายชิ้นประกอบกันเป็นรูปทรงเราขาคณิต ดูเหมือนโครงสร้างสะพานที่พาดระหว่าง 2 ฝั่งแม่น้ำ ที่สามารถออกแบบรูปแบบให้สวยงามได้หลากหลายตามต้องการมากกว่าเดิม ที่สำคัญคือบ้านแบบเดิม ๆ ปิดฝ้าเพื่อความเรียบร้อย

แต่บ้านนี้กล้าโชว์มิติของเส้นสายแบบใหม่ ๆ ด้านบนเพดานใช้กระจกแทนวัสดุทึบ ที่ทำให้เหือนบ้านไร้ขอบเขตเหมือนใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้ง ในขณะที่ไม่ร้อนเพราะคุณสมบัติ ของกระจกยุคใหม่ๆ ที่ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี สำหรับงานนี้ บทบาทของสถาปัตยกรรมจะ เป็นเพียงการรับรู้โจทย์และการเปลี่ยนออกมา เป็นฉากหลังที่สร้างกลมกลืนกับธรรมชาติเอาไว้ให้ แต่เจ้าของจะเขียนเรื่องราวชีวิต ต่อเติมด้วยตัวของเขาเอง