บ้านฟาร์มหลังเกษียณ

Posted on
บ้านฟาร์มหลังเกษียณ

บ้านฟาร์มหลังเกษียณ บ้านฟาร์มเฮาส์ หรือบ้านไร่ เมื่อได้ยินคำนี้ หลายๆคนอาจจะนึกถึง บ้านที่เป็นเพิง เป็นไม้ ขนาดเล็กๆ แคบๆ เหมือนกระท่อม แต่ที่จริงแล้ว บ้านฟาร์มเฮาส์มีดีไซน์ ที่หลากหลายมากกว่านั้น ทั้งด้านขนาด การตกแต่ง และวัสดุ สามารถดัดแปลงให้ดูสะดุดตามากกว่า ปรกติได้ ให้มีความโฉบเฉี่ยว

ความสบายมากขึ้น เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ ของคนรุ่นใหม่ ที่อยากมีบ้านท่ามกลางบรรยากาศที่สงบๆ แต่ในขณะเดียวกันก็อยาก ได้ดีไซน์ที่มีความแข็งแรง และตามยุคตามสมัยมากขึ้น

บ้านฟาร์มหลังเกษียณ

บ้านฟาร์มหลังเกษียณ

แบบที่ 1 บ้านฟาร์ม หลังคาจั่วสูงสไตล์โมเดิร์น

นาทีนี้บ้านทรงกระท่อม แบบมินิมอล สไตล์ฟาร์มโมเดิร์น ที่มีทั้งความคมเฉียบ และอบอุ่น คงกำลังครองใจใครหลายๆ คนอยู่ใช่ไหมครับ ไม่น่าเชื่อว่าบ้านรูปทรงง่ายๆ แบบบ้านฟาร์มที่เราคุ้นตาในหนังสือ นิทานตะวันตกที่อากาศหนาว

จะมาเบ่งบานอยู่เขตร้อนบ้านเรา แต่ความชื่นชอบ ก็ไม่มีอุปสรรคกั้น เพียงแต่ต้องมีการปรับ ประยุกต์อีกสักหน่อย ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ และสภาพอากาศในบ้านเรานะ สำหรับใครที่มีบ้านในฝันคล้ายๆ กันและอยากมองหา แรงบันดาลใจ คิดว่าบ้านหลังนี้น่าจะให้แง่ มุมที่สามารถนำไป ปรับใช้ได้ไม่น้อยทีเดียว

บ้านหลังนี้อยู่ใน Dobra เป็นหมู่บ้านในเขต Limanowa จังหวัด Lesser Poland Voivodeship ทางตอนใต้ของโปแลนด์ พื้นที่บ้านทั้งหมด 270 ตารางเมตร เดิมทีเจ้าของบ้านต้องการ บ้านชั้นเดียว แต่แนวการพัฒนา ที่ดินบริเวณนี้กำหนดระยะห่างจากหลักเขต 12 เมตร ทำให้พื้นที่ที่อนุญาตให้ ก่อสร้างแปลงเดียวไม่ เพียงพออย่างที่ตั้งใจ

จึงได้ทำการตัดสินใจซื้อที่ดิน 2 แปลง แต่ก็ยังพบกับข้อจำกัดของ ต้นไม้ที่ปลูกข้างถนน และความกว้างสูงสุดของส่วนหน้าอาคารที่ทำได้ 18 ม. ทำให้ต้องปรับโซลูชัน โรงจอดรถขยับลงสู่ชั้นใต้ดิน ตำแหน่งของโรงจอดรถและทางเข้าถูกกำหนด โดยระยะห่างระหว่าง ต้นไม้ที่เติบโตอยู่ข้างถนน ซึ่งจุดนี้เป็นทางเดียว ที่จะเข้าสู่ที่ดินได้จากระดับถนน ด้วยวิธีนี้ทำให้ไม่จำเป็น ต้องตัดต้นไม้ที่อยู่มาก่อน บ้าน 2 ชั้น

บ้านได้รับการออกแบบ ให้เป็นรูปทรงอาคารยาว หลังคาจั่วสูงสไตล์โรงนา สองหลังตั้งฉากกันเป็นรูปตัว L ซึ่งแต่ละหลังจะมีโทนสี หลังคาเหมือนกัน แต่ตัวอาคารใช้วัสดุหลักต่างกัน เพื่อสร้างความโดดเด่น โดยสถาปนิกกำหนดให้อาคารแบ่งโซนเวลาใช้งานกลางวัน-กลางคืนอย่างชัดเจน นั่นคือ ส่วนด้านหน้าที่โปร่งสว่าง จะเป็นห้องใช้งานกลางวัน และโซนกลางคืน สำหรับพักผ่อนอยู่ลึก เข้าไปดูสงบเป็นส่วนตัว ทั้งสองอาคารนี้ จะมีทางเดินเล็ก ๆ เชื่อมเอาไว้ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน

บ้านฟาร์มหลังเกษียณ

ในส่วนที่ใช้งานกลางวัน การออกแบบพื้นที่ใช้งานจะเน้นความลื่นไหลภายใน ด้วยแปลนแบบ open plan วางฟังก์ชันครัวแบบเปิด โต๊ะทานข้าว และห้องนั่งเล่นเรียงต่อกันในห้องเดียว ด้านหนึ่งของบ้านทำเบย์วินโดว์ยาวขนานไปกับหน้าต่างสามารถใช้วางของหรือนั่งเล่นนอนเล่นได้

อีกด้านหนึ่งของบ้านเป็นประตูกระจกบานเลื่อนที่เปิดได้กว้างหลายเมตร ต่อเชื่อมระหว่างชานภายนอกกับในบ้าน เพื่อให้บ้านขยายออกไปตอบโจทย์ได้สูงสุด และรับวิวได้ป่าได้เต็มที่ ส่วนของฝ้าเพดานที่ตีความแนวหลังคา ทำให้รู้สึกว่าเพดานบ้านถูกยกให้สูงขึ้นเน้นพื้นที่ให้สูง โปร่ง สบายตา

ในส่วนการเลือกใช้วัสดุจะโฟกัสไปที่ความสอดคล้องกับหลักการก่อสร้างอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมสูงสุด ชูความสง่างามของวัสดุธรรมชาติ เช่น แผ่นอิฐแลลไม่เคลือบก่อแบบโชว์แนวเห็นสีดำบ้างสีน้ำตาลบ้าง

งานฝ้าเพดานบางส่วนเป็นไม้ พื้นปูกระเบื้องสีเทาสลับไม้ ไม้ระแนงตกแต่งผนังหลากสีตามธรรมชาติ หลังคาปิดด้วยหินชนวนธรรมชาติ รางน้ำที่ซ่อนอยู่ความเรียบง่ายที่ เข้ากันได้กับรูปแบบหลังคาจั่วธรรมดาๆ เห็นเส้นสายเฉียบคมของหลังคา แต่ก็มีชายคาช่วยปกป้องภายในจากฝน และแสงได้พอสมควร ต่างจากบ้านสไตล์นอร์ดิกที่มักไม่มีชายคา

ส่วนบ้านด้านหลังที่ต้องการความเงียบสงบ จะแยกส่วนออกมา ทำให้การอยู่อาศัยเป็นสัดส่วนไม่รบกวนกัน สามารถใช้ชีวิตกลางวันได้เต็มที่ กลางคืนก็พักผ่อนได้เต็มอิ่มเช่นกัน การสร้างช่องเปิดในบ้านนั้น ไม่ว่าจะเป็นโซนไหนๆ ของโลก ก็มีข้อควรคำนึงถึงหลัก ๆ คล้ายกัน เช่น เป็นทิศทางที่ได้รับแสงที่ดีหรือไม่ บริเวณนั้นต้องไม่ร้อนเกินไปในช่วงกลางวัน อย่างทิศเหนือหรือทิศตะวันออก หรือเป็นทิศทางที่ต้องการ เปิดรับลมให้เข้าสู่ตัวบ้าน

ส่วนอีกจุดประสงค์หนึ่งคือ การเปิดรับวิสัยทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ มุมมองอบบ้านมีวิวมองที่ดีตรงไหน หรือต้องการจัดภูมิทัศน์ ส่วนใดของบ้าน แล้วจึงกำหนดตำแหน่งช่อง เปิดให้รับกับภาพที่ต้องการ

แบบที่ 2 บ้านฟาร์มโมเดิร์นเสน่ห์ที่ปรับให้เข้ากับยุคสมัย

บ้านฟาร์มโมเดิร์นเสน่ห์ที่ปรับให้เข้ากับยุคสมัย

แม้ว่าโลกของสถาปัตยกรรมจะเดิน ไปข้างหน้าพบกับสิ่งใหม่เรื่อย ๆ แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยัง หลงรักความอบอุ่นแบบบ้านสไตล์ฟาร์ม อยู่และนำมาปรับเปลี่ยน ประยุกต์บ้านไร่ให้มีอารมณ์สมัยใหม่ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นพิเศษในขณะนี้

ด้วยการผสมผสานการออกแบบแบบร่วมสมัยเข้ากับรูปแบบ้านไร่แบบดั้งเดิม ลดทอนรายละเอียดให้เส้นสายที่สะอาดตา หน้าต่างบานใหญ่ ผนังแนวตั้ง หลังคาโลหะเมทัลชีท แปลนอาคารแบบเปิดโล่งดึงดูดสายตา สำหรับใครที่กำลังมองหาบ้านฟาร์มโมเดิร์น ที่นี่อาจเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้คุณได้

บ้านในชนบทแห่งนี้ตั้ง อยู่ในฟาร์มของครอบครัว ออกแบบมาสำหรับเจ้าของ และแขกที่แวะมาเยี่ยมเยือน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากพื้นถิ่นของประเทศนิวซีแลนด์ แต่ปรับรูปแบบ และวัสดุให้มีความทันสมัยขึ้น โดยใช้โทนสีกลาง ๆ หน้าจั่วสองด้านต่างรูปแบบ ล้อมรอบต้นไม้ที่มีอยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขนาบด้วยอาคารอิฐโชว์แนวรูปแบบหลังคาแบน ซึ่งเป็นที่ตั้งของปีกทางเข้า และส่วนบริการ สร้างบรรยากาศความ เป็นกันเองอบอุ่นด้วยวัสดุที่คุ้นเคย

หน้าจั่วจะติดวัสดุ กระจกใสเต็มพื้นที่

ด้านหนึ่งของหน้าจั่วจะติดวัสดุ กระจกใสเต็มพื้นที่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ ทำให้บ้านดูต่างไปจากบ้านฟาร์มแบบ Traditional ที่มักจะใช้ไม้ตีผนังในแนวตั้งจนเต็มพื้นที่ และใส่ช่องแสงเล็ก ๆ เพื่อควบคุมอุณหภูมิในบ้าน ผนังและหลังคาอีกด้านหนึ่งของบ้านจะเป็นวัสดุเมทัลชีทสีขาว แม้แต่ปล่องไฟก็ถูกออกแบบใหม่ในดีไซน์ที่ดูเรียบคมไม่ซับซ้อนในแบบโมเดิร์นมินิมอล

สิ่งหนึ่งที่บ้านฟาร์มแบบเก่า ๆ ต้องมีเป็นเอกลักษณ์ และบ้านนี้ยังคงเก็บเอาไว้ให้คิดถึงคือ เฉลียงบ้านที่เรียงยาวตามแนวอาคาร เป็นพื้นที่ใช้งานกึ่งกลางแจ้งสำหรับ นั่งเล่นชมบรรยากาศไร่นา พักผ่อนเมื่อเสร็จงาน เปลี่ยนบรรยากาศออกมานั่งจิบชา รับประทานอาหารนอกบ้านในวันที่อากาศสบาย ๆ บ้านนี้จึงเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย อบอุ่น และเต็มไปด้วยเสน่ห์

จะดีแค่ไหน ถ้าหากตอนนั่งเล่นเพลิน ๆ ในโซนนั่งเล่นมีวิวสนามหญ้าให้มอง ในห้องครัวก็ยังสามารถมองทะลุผนังออกไปจับภาพวิวทิวเขาที่มีก้อนเมฆไหลเอื่อยมาพักพิง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไรก็ไม่พลาดภูมิทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถาปนิกใส่ใจให้ ความสำคัญกับทุกมุมมองในทุกพื้นที่ไม่มีใครถูก ทิ้งแยกไว้ข้างหลัง ซึ่งแนวคิดนี้เป็นวิธีการใส่ฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ทำให้บ้านฟาร์ม ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีกว่าเดิม

สไตล์บ้านไร่ บ้านฟาร์มสมัยใหม่ นั้นคล้ายกับสไตล์คันทรี่ แต่เน้นไปที่ใช้วัสดุสีขาวหรือสีกลาง ๆ หรืออบอุ่น อาทิ ครีม เบจ และเทา รวมถึงโทนสีไม้ธรรมชาติ และร่วมสมัยมากขึ้น ในขณะที่สไตล์คันทรีนั้นมีทั้งสีสดใสและสีพาสเทล และลวดลายดอกไม้หรือลายตาราง เครื่องปั้นดินเผา ถังสังกะสี และตะกร้าหงายสานในการตกแต่ง

ซึ่งจะดูมีรายละเอียดในการตกแต่งมากกว่า และให้บรรยากาศแบบชนบทบ้านไร่ ในขณะที่บ้านฟาร์มโมเดิร์นตกแต่งน้อย ๆ ใช้งานโลหะในส่วนผนัง หลังคา ฮาร์ดแวร์และรายละเอียดทาง สถาปัตยกรรมในดีไซน์เรขาคณิตโมเดิร์น รวมถึงการให้ความสำคัญกับการใช้กระจก และการเปิดรับมุมมอง ของภูมิทัศน์มากกว่า