บ้านไม้โบราณ

Posted on
บ้านไม้โบราณ

บ้านไม้โบราณ บ้านไม้ ไม้คือวัสดุก่อสร้างที่ทำมาจากธรรมชาติ ได้ถูกนำมาปรับใช้เพื่อการอยู่อาศัยนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจนถึงปัจจุบัน โดยคุณประโยชน์ และความโดดเด่นของไม้นั้น คือความแข็งทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีความสวยงาม ให้ความรู้สึกอบอุ่น

ในปัจจุบันไม้ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เป็นเพียงโครงสร้างบ้านหรือส่วนของผนัง และพื้นเพียงอย่างเดียว แต่กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อีกมากมาย นับได้ว่าไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่อาศัยอย่างเต็มรูปแบบ

การปลูกบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่ส่วนใหญ่แล้ว คนมักจะนิยมสร้างบ้านเป็น บ้านไม้ กับ บ้านปูน ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถือเป็นวัสดุพื้นฐาน ที่คนนิยมใช้สร้างกัน ด้วยเหตุผลหลักคือ ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ได้สะดวกสบาย อากาศถ่ายเท แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็มีรูปลักษณ์ คุณสมบัติที่แตกต่างกัน ออกไปที่ไม่เหมือนกัน

โดยเจ้าของบ้านควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนว่า บ้านที่เราจะอยู่นั้นเหมาะกับ วัสดุชนิดใดมากกว่ากัน ซึ่งเราจะมีข้อเปรียบเทียบพิจารณา กันว่าบ้านไม้สวยๆ กับบ้านปูน มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร โดยข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถดูไว้ เป็นตัวอย่างก่อนการสร้างบ้าน เพื่อประโยชน์สุดของคุณ

อย่างแรกหากพูดถึง เรื่องการถ่ายเทอากาศภายในบ้าน บ้านไม้จะสามารถ ถ่ายเทอากาศได้ดีมากกว่าบ้านปูนทั่วไป เพราะมีช่องที่ลมสามารถพัด ผ่านเข้าออกได้มากกว่า บรรยากาศภายในบ้านไม้ จึงมาพร้อมความรู้สึกที่สดชื่นอย่างเป็นธรรมชาติ และโปร่งสบาย ไม่อึดอัด

ส่วนบ้านปูนถึงแม้ จะไม่โปร่งสบายเท่าบ้านไม้ แต่หากมีการจัดวาง ในทิศทางลมที่เหมาะสม หรือทำช่องอากาศที่มีขนาดกว้างขวางมากขึ้น ก็จะช่วยให้บรรยากาศ ภายในบ้านปูนเย็นสบายมากยิ่งขึ้น

ร้างบ้านไม้ ปัญหาที่ยังพบบ่อยคือ เกิดปัญหาเรื่องปลวกกัดกิน และทำความเสียหายให้บ้านได้มากกว่าบ้านปูน แต่บ้านไม้ก็เป็นบ้าน ที่มาพร้อมความแข็งแรง ทนทาน และสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า โดยเฉพาะหากเกิดแผ่นดินไหว บ้านปูนสามารถ เกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่าบ้านไม้

แบบบ้านไม้ 2 ชั้น ออกแบบเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

บ้านไม้โบราณ

บ้านไม้ 2 ชั้น ป่าคือบ้าน บ้านคือป่า คือสิ่งเดียวกัน การสร้างบ้านในสถานที่ ล้อมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ โจทย์สำคัญที่ต้องตัดสินใจว่าจะตัดทิ้ง หรือ ยังคงรักษามันไว้ ทีมงานสถาปนิก Golany Architects และเจ้าของบ้าน เห็นร่วมกันว่าจะยังคงรักษาต้นไม้ใหญ่นี้ไว้ แม้แบบแปลน ที่เขาต้องการจะ ไม่เพียงพอต่อพื้นที่ดังกล่าว

การออกแบบจึงต้องเปิดช่องว่างส่วนหนึ่ง ไว้สำหรับพื้นที่ของต้นไม้ ที่ยังคงอยู่ ซึ่งเป็นลานระเบียง พื้นที่นั่งเล่น พื้นที่ลานบริเวณบ้าน ยังสามารถนำมาตกแต่ง สวนให้สวยงาม เหมาะอย่างยิ่งที่จะ สร้างไว้สำหรับผู้ ที่ชอบวิถีชีวิตชนบท อยู่กับความพอเพียง

แบบบ้านทรงไทยประยุกต์ใต้ถุนสูง สวย โปร่ง เย็นสบาย

บ้านไม้โบราณ

บ้านไม้ทรงไทยประยุกต์ หลังนี้เป็นบ้านไม้ ที่ออกแบบได้ใกล้เคียงกับคำว่า “เรือนไทย” ดั้งเดิมเป็นที่สุด เพราะว่าแบบบ้านที่เรากำลังเสนอ เป็นบ้านไทยประยุกต์ ที่มาพร้อมกับใต้ถุนสูงโปร่ง และเรือนบ้านตามแบบ ฉบับไทยแท้ ใครที่อนุรักษ์นิยม และอยากจะสร้างบ้านสไตล์ไทยๆ คงไม่ต้องชายตามองที่ แบบบ้านที่ไหนอีกแล้ว เพราะแบบบ้านนี้ อาจจะกำลังตอบโจทย์ บ้านไทยในฝันของคุณอยู่

บ้านถูกออกแบบ ให้มีใต้ถุนโปร่งแบบไทยๆ ที่มีความสูงเกือบ 3 เมตร เปิดรับลมรอบทิศ พร้อมด้วยพื้นที่ใต้ถุนโล่งกว่า 200 ตารางเมตร โดยชั้นล่างประกอบด้วย 1 ห้องครัว และ 1 ห้องน้ำ ยังเหลือที่ เป็นลานใต้ถุนขนาดกว้างขวาง ปูพื้นด้วยไม้ฝาคุณภาพ ให้คุณสามารถตั้งโต๊ะทานอาหาร เก้าอี้ไม้ตัวโปรด หรือแม้แต่นอนเล่นเอนหลัง ตั้งวงกินข้าวกับพื้นก็สะดวกสบาย ขึ้นไปที่เรือนบ้านชั้นบน ผ่านบันไดที่อยู่นอกตัว บ้านตามแบบฉบับเรือนไทย บ้าน 2 ชั้น

คุณจะพบกับระเบียงขนาด พอเหมาะก่อนเข้าตัวเรือน โดยพื้นที่ชั้นบนแบ่งเป็น 2 ห้องนอน และ 2 ห้องน้ำ มาพร้อมกับห้องโถงขนาดใหญ่ที่ คุณสามารถจัดสรรพื้นที่ ได้ตามความชอบ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทานข้าว หรือโซนรับแขกกับชุดโซฟาไม้สวยๆ ตามความชื่นชอบ

ภายนอกของบ้านไทย ประยุกต์หลังนี้ บุผนังด้วยไม้ฝาที่ให้ความ สวยงามเสมือนไม้จริง ทรงหลังคาที่มีความลาดชันถึง 30 องศา ช่วยลดปัญหาความร้อน ที่ต้องรับจากแสงแดด นอกจากองศาของหลังคา จะมีส่วนช่วยในการป้องกันความร้อนแล้ว กระเบื้องหลังคาก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย อย่างกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ ซีเมนต์ตราช้าง รุ่น พรีมา

ที่นอกจากจะมีคุณสมบัติกันร้อน และความยืดหยุ่น ต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ลอนกระเบื้องที่พลิ้วสวย และโทนสีแดงของกระเบื้อง ยังสอดรับกับความสวยงาม ของไม้ฝาโทนสีอบอุ่น และสุขุม ไปจนถึงรูปทรงของบ้านได้เป็นอย่างดี

แบบบ้านยองหิน ภูมิปัญญาไทลื้อ

แบบบ้านรองรับแผ่นดินไหว ภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ ในอดีต แผ่นดินไหวกับประเทศไทยนั้น อาจเป็นเรื่องไกลตัวมากนัก แต่เมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว จ.เชียงราย ได้เกิดขึ้น เรื่องแผ่นดินไหว จึงกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวโดยทันที และไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่า จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ รุนแรงแค่ไหน สิ่งที่สามารถทำได้นั่น

คือ ศึกษาการป้องกันเมื่อ เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว บ้านเรือน ตึกอาคาร ที่อยู่อาศัยก็เช่นเดียวกัน โดยส่วนมากภายในประเทศไทย ไม่ได้ออกแบบมา เพื่อให้รองรับกับแผ่นดินไหว หากเกิดเหตุรุนแรง อาจก่อให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ได้ สำหรับวันนี้เรา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านไทลื้อ ที่ได้สืบทอดกันมานาน กับสถาปัตยกรรมบ้านไทลื้อ ในแบบที่เรียกว่า “บ้านยองหิน”

แบบบ้านรองรับแผ่นดินไหว

หลักการของบ้านยองหิน เสาบ้านซึ่งทำด้วยไม้ ปกติหากเป็นแบบบ้านไทลื้อทั่วไป เสาจะปักลงดิน แต่สำหรับบ้านไทลื้อแบบเสายองหิน เสาบ้านจะตั้งไว้บนหิน เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว เสาดังกล่าวก็จะสามารถ โยกไปมาได้ แรงโยกช่วยทำให้เกิดความ ยืนหยุ่นของแรงสั่นสะเทือน รวมถึงส่วนเชื่อมต่อต่างๆ ระหว่างไม้ ออกแบบมาให้รองรับกับการเคลื่อนไหว สำหรับบ้านเสายองหินนี้

หากเกิดเหตุหนักสุด ก็เพียงแค่เสาบ้านตกลงจากหิน ลงสู่พื้นดินเท่านั้น ระยะดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ไม่เพียงเท่านี้ บ้านยกสูง ยังช่วยป้องกันน้ำท่วม กันปลวกได้ด้วยนะครับ นับได้ว่า เป็นความฉลาดของภูมิปัญญาไทลื้อ ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย