บ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่ บ้านของชาวญี่ปุ่นมีลักษณะอย่างไร คุณก็คงเคยเห็นในทีวีหรือภาพยนตร์บ้างนะ ว่าบ้านญี่ปุ่นได้ถูกสร้างโดยไม้และกระดาษเท่านั้น ก็จริง สมัยก่อนที่ยังไม่นานประมาณ 50 กว่าปีที่แล้วนี้เองนะ ฝรั่งที่มาประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกมักตกใจว่าโครงสร้างของบ้านแบบญี่ปุ่น ต่างกับโครงสร้างของบ้านแบบฝรั่งมาก ถ้าจะเปรียบเทียบกับโครงสร้างของบ้านในเอเชีย บ้านแบบญี่ปุ่นก็ยังมีลักษณะ พิเศษที่แปลกไม่น้อยทีเดียว
บ้านของชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อน แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ คือเป็นบ้านสำหรับชาวเกษตร และบ้านสำหรับชาวเมือง บ้านของชาวเกษตร มีหลังคาเป็นหญ้า(ฟางข้าวหรือฟางพืช Kaya) ส่วน บ้านของชาวเมือง(รวมถึงเจ้าเมืองสมัยนั้น) มีหลังคาเป็นกระเบื้อง สมัยนี้บ้านญี่ปุ่น ที่สร้างใหม่ก็จะมีแต่หลังคากระเบื้อง แล้วในเมืองใหญ่ก็จะมีพวกอพาร์ทเมนท์ และคอนโดมิเนียมที่ใช้ปูนซิเมนต์ และเหล็กเป็นวัตถุก่อสร้างสะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนโครงสร้างด้านในจะเป็นยังไงชมได้พร้อมๆ กัน
บ้านญี่ปุ่นสมัยใหม่
บ้านของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ติดกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองหรือชนบท แต่คุณสมบัติสำคัญของบ้านชาวญี่ปุ่นนั้นจะให้ความสำคัญเรื่องความ เป็นส่วนตัวและแสงสว่างจากธรรมชาติ แม้ที่พักอาศัยในเมืองอย่างอะพาร์ตเมนท์ก็ จะมีคุณสมบัติบางอย่างคงอยู่ เช่นอ่างอาบน้ำแบบแช่ตัว แต่นอกจากเรื่องอ่างอาบน้ำแล้วยังมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่บอกว่าบ้านนี้เป็น บ้านสไตล์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น
แบบบ้านญี่ปุ่นร่วมสมัย สไตล์โมเดิร์น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ขึ้น ชื่อเรื่องการรักษาวัฒนธรรม อย่างเข้มข้น แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็รู้ดีว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะยึดตัวตนเดิม ๆ ให้คงอยู่โดยไม่ปรับตัวตาม กระแสโลก ในปัจจุบันวงการสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น จึงไม่ได้หยุดอยู่กับที่ สังเกตได้จากมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ วัสดุสร้างบ้าน ให้สะดวกสบายเข้ากับยุคสมัย และไลฟ์สไตล์มากขึ้น แต่ในการจัดการฟังก์ชันและพื้นที่ใช้งาน
ส่วนประกอบของบ้าน ยังคงมีเอกลักษณ์หลายอย่าง ทรงคุณค่าและใช้ยังใช้ได้ดี แม้เวลาจะเปลี่ยน จึงนำมาปรับประยุกต์ให้ ผสมผสานเข้ากันระหว่างเก่าใหม่ ที่ไม่เพียงจะเป็นนิยม ของชาวญี่ปุ่นแต่ยัง เป็นแรงบันดาลใจให้คนที่ชื่นชอบสไตล์นี้ใน หลายประเทศทั่วโลก
หลังคาเฉียงสูงโมเดิร์นในบ้านญี่ปุ่น บ้านหลังนี้มี concept ในการออกแบบคือ เป็นญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ให้กลมกลืน สังเกตได้จากหลังคามุงแผ่นหิน ชนวนที่มีชายคาเหมือนบ้านทั่วไป
แต่ก็มีความโมเดิร์นได้ในขณะ ที่ยังมีความเหมาะสมกับ สภาพอากาศ ด้วยออกแบบเส้นสาย ของหลังคาที่เรียบน้อย องศาของหลังคาเฉียง สูงหลังคาเพิงหมาแหงน (Lean to) ขนาดใหญ่ มีจังหวะที่หลังคาถูกเจาะ เป็นช่องสี่เหลี่ยมเปิด open space ออกสู่ท้องฟ้า เพื่อรับแสงรับอากาศ หรือเปิดให้ต้นไม้เติบโต ซึ่งเป็นรูปแบบที่เริ่มปรากฎในบ้านญี่ปุ่นใหม่ ๆ มากขึ้น
จากด้านหน้าเราจะเห็นพื้นที่ จัดสวนสไตล์ญี่ปุ่นที่มีหิน ต้นไม้ฟอร์มสวยเป็นส่วนประกอบ ถัดไปเป็นกำแพง ผนังรั้วคอนกรีตที่มี Texture บนผนังสร้างมิติทางสายตาที่ทันสมัย ประตูไม้ระแนง และหน้าต่างโค้งมนเก็บงานเนี๊ยบเรียบร้อยทุกจุด สร้างบรรยากาศแบบญี่ปุ่น
ดังนั้นการออกแบบจึงผสมผสา นระหว่างธรรมชาติ ความเก่าและใหม่ ในขณะที่การจัดจังหวะของ แต่ละองค์ประกอบสมดุล และยังซ้อนเหลื่อมทำให้รู้สึกได้ถึงความเป็นส่วนตัว แต่ยังมีความเป็นมิตร
เชิญชวนให้สัมผัสความอบอุ่น ตั้งแต่ก้าวแรก ต้อนรับเข้าสู่บ้านด้วยพื้นที่ ถอดรองเท้าที่เป็นเสมือน จุดบ่งบอกว่ากำลังจะเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวของบ้าน ตกแต่งด้วยความเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสงบ และสบายด้วยงานไม้ ที่มีทั้งสีเข้ม และสีอ่อน ๆ สะดุดตากับบานเลื่อน ระแนงไม้ที่ซ่อนพื้นที่การใช้งาน ที่ต้องการปิดบังสายตาเอาไว้ข้างหลัง หากสังเกตจะพอจับหลัก การแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ว่าจะเน้นวัสดุธรรมชาติ และจะหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์สีแดง ดำ และเขียว เราจึงไม่ค่อยเห็นการใช้สี ที่ว่าควบคู่กันในบ้านญี่ปุ่น บ้านญี่ปุ่นร่วมสมัย
โอบล้อมสวนญี่ปุ่นเอาไว้ทุกด้าน สถาปนิกดีไซน์ให้ห้องต่าง ๆ ติดบานกระจกโอบล้อมลานกลางแจ้ง ที่เจาะหลังคาเปิดออกสู่ท้องฟ้า (Open Space) แล้วจัดเป็นสวนสไตล์ญี่ปุ่นเล็ก ๆ เอาไว้ ทำให้ได้ประโยชน์ถึงสามต่อ คือ การนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วน หนึ่งของบ้านแบบ outside in เป็นพื้นที่ดึงแสง ลม เปิดรับธรรมชาติภายนอกเข้าสู่ภายใน และสุดท้าย สมาชิกในบ้านชื่นชม และสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกดขึ้นใน สวนอย่างใกล้ชิดในทุกฤดู โดยที่ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องออกไปนอกบ้าน
สง่างามตามแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ห้องชงชาที่ยังคงเอกลักษณ์ ความเป็นญี่ปุ่นเอาไว้อย่าง เหนี่ยวแน่นสัมผัสได้ถึงความสง่างามแต่สงบนิ่ง ผ่านของตกแต่งแผ่นป้ายคำคมโบราณ เครื่องปั้นดินเผาชิ้นสวย การใช้โทนสีอ่อน ๆ งานไม้ ปูพื้นด้วยเสื่อทาทามิที่ให้ ความอบอุ่นในขณะนั่ง
ประตูเป็นบานสไลด์กรุกระดาษ แบบญี่ปุ่นโบราณที่เรียกว่า โชจิ เป็นอัตลักษณ์หนึ่งของ บ้านญี่ปุ่นที่นำมาปรับใช้กับบ้านโมเดิร์นได้ แต่เปลี่ยนจากกระดาษ สามาเป็นวัสดุกระจกโปร่งแสง นอกจากช่วยกรองแสงแล้วยังช่วยป้องกันละอองน้ำฝนเข้าสู่ตัวบ้านได้
ในบ้านที่ตกแต่งภายในสไตล์ญี่ปุ่น ที่ติดตั้งบานประตูแบบโชจิ โดยใช้วัสดุโปร่งแสง จะอนุญาตแสงผ่าน ได้บ้างและมองเห็นความเคลื่อนไหวราง ๆ ซึ่งประตูบานเลื่อนหรือฉากกั้นโชจิ จะไม่สามารถรับรองความเป็นส่วนตัว ของแต่ละห้องได้เต็มที่ เนื่องจากเสียงรั่วจึงเหมาะใช้ กั้นระหว่างพื้นที่ใช้งานที่ ที่ไม่เป็นส่วนตัวมากนัก เช่น ระหว่างห้องนั่งเล่น ห้องชงชา ห้องรับแขก หากเจ้าของบ้านอยากรักษา ความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่น ในห้องนอน ให้ใช้ประตูที่หนาและผนังกันเสียงจะดีกว่า
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นมีลักษณะอย่างไรเหมาะกับพื้นที่แบบไหน
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นจะเน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติรอบ ๆ บ้าน มักจะมีพื้นที่การปลูกสวนหย่อม ต้นไม้ ดอกไม้ พืชผัก และมีพื้นที่สำหรับแหล่งน้ำ เช่น น้ำตก เพื่อจัดวางก้อนหินตกแต่ง บ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณจะยกพื้นสูงตามสภาพพื้นที่จริงของประเทศ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นนั้นพื้นดินมีความชื้นสูงมาก บ้านเดี่ยว
หากไม่เว้นช่องว่างไว้จะทำพื้นบ้านหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ เสียหายได้ง่าย จุดสำคัญอีกอย่างคือการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่า ออกแบบตัวบ้านแบบเปิดเชื่อมเข้าหากันได้ทุกส่วน เพื่อให้อากาศถ่ายเท ลดอุณหภูมิภายในบ้าน และช่วยให้คนในบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในทุกพื้นที่นั่นเอง บ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วนมากจะมีหลังคายื่นยาวเลยตัวบ้านออกมา และเปิดหน้าบ้านได้กว้าง เพื่อเชื่อมภายในกับภายนอกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น 2 ชั้น หรือบ้านสไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่ อาจจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนอยู่อาศัยด้วยว่าใช้ ประโยชน์กับบ้านมากน้อยแค่ไหน บ้านสไตล์ญี่ปุ่นย่อมมีทั้งข้อดี-ข้อเสียเช่นเดียวกันกับบ้านสไตล์อื่น ๆ
ข้อดีของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
- โครงสร้างภายใน
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นทั้งที่เป็นแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ หรือแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่ผสมผสาน ไม่ว่าแบบไหนก็ยังเน้นวัสดุไม้ธรรมชาติเป็นหลัก เพราะไม้จะทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อน ระบายอากาศได้ดี ช่วยทำให้ให้บ้านเย็นสบาย ช่วยอุณหภูมิภายในบ้าน ทำให้ไม่ร้อนอบอ้าว บ้านสไตล์ญี่ปุ่นจึงเหมาะกับพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้น - สัมผัสความงามของธรรมชาติ
พื้นสัมผัส ผิว และลวดลายของไม้ เป็นเหมือนของตกแต่งที่มีเสน่ห์ในตัวเอง มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม มีความแตกต่างกันในแต่ละแผ่นแต่ละเนื้อไม้ อีกทั้งการได้สัมผัสผิวเนื้อไม้ จะช่วยให้เรารู้สึกถึงความอบอุ่นอ่อนโยน - ประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่าในทุกพื้นที่
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นตอบสนองการใช้ชีวิตอย่างลงตัว จึงออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้บางอย่างเมื่อยังไม่ใช้งาน และแต่ละส่วนภายในบ้านมักจะเปิดพื้นที่ให้เชื่อมถึงกันได้ เพื่อความปลอดโปร่งโล่งสบาย - บ้านสไตล์ญี่ปุ่นออกแบบให้โครงสร้างบ้านมีความยืดหยุ่นในตัวสูง
รองรับแรงสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี นั่นก็เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวตลอดเวลา จึงต้องสร้างโครงสร้างไว้รองรับ
ข้อเสียของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
- ไม้มีโอกาสบิดตัว
โครงสร้างภายในที่เป็นไม้ของ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น หากอยู่ไปนาน ๆ มีโอกาสที่ไม้จะบิดตัว โค้งงอจากสภาพอากาศ อุณหภูมิที่ร้อนได้รวมทั้งความเย็นชื้นของฝน อาจจะเกิดช่องว่างของไม้กับพื้นที่ส่วนอื่น หรืออาจมีเสียงลั่นของไม้รบกวนได้ - แมลงกวนใจ
อีกหนึ่งปัญหาโครงสร้างภายในที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น คือ เรื่องปลวก มอด และแมลงชอนไช กัดกินเนื้อไม้ต่าง ๆ การดูแลรักษาบ้านสไตล์ญี่ปุ่นจึงต้องใส่ใจดูแลป้องกันเป็นพิเศษ - ราคาแรงเพราะใช้ไม้ธรรมชาติ
ไม้จากธรรมชาติ เป็นวัสดุที่มีราคาสูงกว่าวัสดุก่อสร้างชนิดอื่น ๆ และยังมีราคาที่แตกต่างกันไป ตามชนิดของเนื้อไม้ การใช้งานและคุณภาพของไม้ - ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยโครงสร้างและการตกแต่งที่เป็นไม้ จึงจำเป็นต้องใช้ช่างไม้ที่มีฝีมือ มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์สูง ซึ่งก็แน่นอนว่านอกจากจะหายากแล้ว งบประมาณค่าใช้จ่ายก็ต้องสูงตามไปด้วยนั่นเอง